วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แม่นาคพระโขนง


แม่นาคพระโขนง



            สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคนเนื่องจากกระแสภาพยนต์เรื่องพี่มากพระโขนงมาแรงและโดงดังเป็นอย่างมาจึงทำให้ผมอยากรู้ข้อมูลและประวัติของ แม่นาคพระโขนง(ย่านาค)ผมจึงศึกษาความเป็นมาของ ย่านาคพระโขนง จากหลายๆสื่อการเรียนรู้ และพบว่าประวัติ แม่นาคพระโขนง นั้นน่าสนใจเป็นอย่างมาก จึงทำบล๊อคขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ประวัติของ แม่นาคพระโขนงให้กับเพื่อนๆที่สนใจได้รับรู้เรื่องราวความเป็นมา บล๊อคที่สร้างขึ้นไม่ได้มีเจตนาอื่นอย่างใด ถ้าข้อมูลที่ถ่ายทอดออกไป ผิด เพี้ยน หรือ สร้างความเดือดร้อนให้ ผู้ใด ผมขอประทานโทษมา ณ ที่นี้ด้วยครับ 
                                                                                                            นายสุคณิต แสวงไวศยสุข

เรื่องราวความเป็นมา

เรื่องราวของแม่นาคมีทั้งที่เป็นนิยายและภาพยนตร์ บุคคลแรกที่ทำให้ "แม่นาคพระโขนง" โด่งดังขึ้นมา ก็คือ...สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ พระองค์ท่านทรงนำเรื่อง 'อีนาคพระโขนง' ออกแสดงเป็นละครเวทีที่โรงละครปรีดาลัยจนเกรียวกราวได้รับการต้อนรับจากดู เป็นอย่างมาก จนต้องแสดงซ้ำอยู่ถึง ๒๔ คืน 

ในนิยาย กล่าวถึงแม่นาคว่า.....ที่พระโขนง มีเศรษฐีสองสามีภรรยาชื่อตามั่นกับยายมี (หมี) ทั้งสองมีลูกสาวที่สวยที่สุดในย่านพระโขนง จึงมีหนุ่มๆมาติดพันหลายคน มากก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่เพราะหนุ่มมากชอบประพฤติกรรมตัวเป็นนักเลงโต ตามั่นจึงพยายามกีดกันและตัดการหมั้นทองนาคให้กับเสี่ยย้งทองนาคจึงตัดสินใจ หนีตามหนุ่มมาก ในวันที่เสี่ยย้งยกขบวนขันหมากมา หลังจากได้ทองนาคมาเป็นภรรยา มากก็กลับตัวเป็นคนดี ขยันขันแข็งทำมาหากิน ทั้งสองจึงอยู่กันอย่างมีความสุข ต่อมาทองนาคตั้งท้อง ก็พอดีมากถูกเกณฑ์ทหาร มากต้องไปเป็นทหาร จึงฝากลุงกับป้าชื่อตาหอยกับยายหมาให้ช่วยดูแลทองนาค(เพราะบิดามารดาของมาก เสียไปแล้ว จึงต้องมาฝากลุงกับป้าให้ช่วยดูแลภรรยา) ตาหอยยายหมาเป็นห่วงหลานสะใภ้ จึงรับทองนาคไปอยู่ด้วย 

ทองนาคเป็นคนขยันขันแข็งถึงกำลังท้องไส้ ก็ยังช่วยหาบขนมขายทุกวัน จนกระทั่ง... กลางดึกคืนหนึ่งทองนาคเกิดเจ็บท้องจะคลอดลูก ตาหอยจึงรีบไปตามหมอตำแย(หญิงที่ช่วยทำคลอดสมัยก่อน) ชื่อยายจั่น มาทำคลอดให้ แต่ยายจั่นไม่สามรถทำอะไรได้เพราะเด็กในท้องขวางตัว และทองนาคไม่มีลมเบ่ง ในที่สุด... ทองนาคก็ขาดใจตายทั้งที่ลูกยังอยู่ในท้อง การตายลักษณะนี้เรียกว่า.....ตายทั้งกลม! ซึ่งเชื่อกันว่า ผีพวกนี้แรงทั้งแม่ทั้งลูก ในวันฝังทองนาค นายทุย(เพื่อนของมากที่ถูกเกณฑ์ทหารด้วยกัน) ได้กลับมาบ้านที่พระโขนง และมาทันช่วยหามศพทองนาคไปฝังที่ป่าช้าวัดมหาบุศย์ หลังจากนั้น... พอตกดึก ชาวบ้านใกล้วัดมหาบุศย์ก็จะได้ยินเสียงทองนาคเห่กล่อมลูกอยู่ที่โคนต้น ตะเคียนใกล้คลอง ด้วยสำเนียงอันโหยหวน มีเสียงเด็กร้องไห้ เสียงผู้หญิงหยาดเย็นปลอบโยน ประสานด้วยเสียงหมาหอน... บรื๋อออ์!

ในตอนแรก... ทองนาคก็ไม้ได้ดุร้ายอะไรนัก จนกระทั่งลูกชายของนางไปเล่นกับเด็กวัดแล้วถูกเด็กวัดรังแกนางจึงหลอกพวก เด็กวัด ด้วยการยื่นมือยาวๆ จะจับเท่านั้น แต่ไม่ได้ทำอะไรรุนแรง ทำเอาพวกเด็กวัดจับไข้กันเป็นแถว แต่รายที่ทองนาคเล่นงานอย่างจริงจังก็คือ เสี่ยย้ง เพราะเสี่ยย้งเคยปลุกปล้ำนางมาครั้งหนึ่ง นางทองนาคจึงบีบคอเสี่ยย้งจนตาย เมื่อมากกลับมาที่พระโขนง ก็พบทองนาครอรับอยู่ที่บ้าน มากจึงไม่ยอมเชื่อ เมื่อใครต่อใครบอกว่าทองนาคตายแล้ว จนตาหอยผู้เป็นลุงต้องแนะนำว่า จะเชื่อหรือไม่ ก็ให้ทดลองดู เวลานางทองนาคตำน้ำพริก ให้แอบบีบมะนาวลงไป ถ้าผีเป็นผู้ทำก็จะมีหนอม มากแอบทดลองดู ก็ปรากฏว่าในน้ำพริกมีหนอนจริงๆ แต่เขายังไม่ยอมเชื่อ กระทั่งวันต่อมา ขณะที่ทองนาคตำน้ำพริก บังเอิญทำลูกมะนาวหล่นลงไปใต้ถุนบ้าน (บ้านที่ทองนาคกับมากอยู่เป็นเรือนไทยใต้ถุนสูง) นางก็เอื้อมมือยาวเฟื้อยลงไปเก็บลูกมะนาว มากเห็นเข้า ถึงได้ยอมเชื่อว่าเมียของตนกลายเป็นผีไปซะแล้ว และหนีไปหานายทุยที่บ้าน

นายมากวางแผนหลบหนีผีนางนาก โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ำให้รั่วแล้วเอาดินอุดไว้ ตกกลางคืนทำทีเป็นไปปลดทุกข์เบา แล้วแกะดินที่อุดตุ่มไว้ให้น้ำไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา จากนั้นจึงแอบหนีไป นางนากเมื่อเห็นผิดสังเกตจึงออกมาดู ทำให้รู้ว่าตัวเองโดนหลอก จึงตามนายมากไปทันที ทุยกับมากจึงต้องพากันหนีอีก นางก็ติดตามไม่ลดละ จนทั้งสองหนุ่มวิ่งหนีฝ่าเข้าไปในดงหนาด(ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่เป็นขน มีกลิ่นฉุน ใช้ทำยาได้ ถือกันว่าผีกลัว) นางจึงไม่กล้าติดตามเข้าไป แต่ยังรออยู่นอกดงหนาด แล้วเรียกเสียงเย็นๆ ว่า พี่มากขาาา......!

จนรุ่งเช้า... นางจึงจำใจจากไปเพราะกลัวแสงแดด ส่วนสองหนุ่มที่หลบภัยอยู่ในดงหนาดนั้น สมภารคงวัดมหาบุศย์ออกบิณฑบาตผ่านมาพบเข้า ก็ช่วยพากลับไปที่วัด และให้พระเณรช่วยกันวงด้านสายสิญจน์ตั้งบาตรน้ำมนต์ให้พระมานั่งล้อมมากกับ ทุยแล้วสวดพระปริตร ตกกลางคืนทองนาคก็มาจริงๆแต่ไม่สามารถฝ่าวงสานสิญจน์เข้าไปหามากได้ ทำให้นางโกรธมาก และเที่ยวปรากฏตัวหลอกหลอนผู้คนที่พายเรือผ่านหน้าวัด จนไม่มีใครกล้าผ่านไปแถวนั้น และชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดก็ต้องอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น พระสงฆ์องค์เจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วย (คงเป็นเพราะชาวบ้านย้ายหนีไปหมด เลยไม่มีใครใส่บาตร พระสงฆ์เลยลำบาก) ต้องย้ายไปอยู่วัดอื่น 

วัดมหาบุศย์แทบจะกลายเป็นวัดร้าง เหลืออยู่แต่สมภารคงรูปเดียว
ข่าวความดุร้ายของทองนาคเล่าลือกันไปทั่วกัน จนรู้ถึงหมอผีชื่อดังคนหนึ่งชื่อแหยม หมอแหยม
พาเจ้าเปลี่ยนลูกศิศย์ทีวัดมหาบุศย์เพื่อจะปราบผีแม่ทองนาค แต่กลับถูกทองนาคหักคอตายส่วนเจ้าเปลี่ยนกลายเป็นบ้าไป แต่ในที่สุด.....ผีแม่ทองนาคก็ถุกปราบลงจนได้ โดยเณรจิ๋วซึ่งมาแต่เมืองเหนือ เณรจิ๋วได้ใช้วิชาอาคมเรียกทองนาคลงหม้อ เอาไปถ่วงน้ำได้สำเร็จ 

ข่าวความดุร้ายของทองนาคเล่าลือกันไปทั่วกัน จนรู้ถึงหมอผีชื่อดังคนหนึ่งชื่อแหยม หมอแหยม
พาเจ้าเปลี่ยนลูกศิศย์ทีวัดมหาบุศย์เพื่อจะปราบผีแม่ทองนาค แต่กลับถูกทองนาคหักคอตายส่วนเจ้าเปลี่ยน
กลายเป็นบ้าไป แต่ในที่สุด.....ผีแม่ทองนาคก็ถุกปราบลงจนได้ โดยเณรจิ๋วซึ่งมาแต่เมืองเหนือ เณรจิ๋วได้ใช้
วิชาอาคมเรียกทองนาคลงหม้อ เอาไปถ่วงน้ำได้สำเร็จ 

เรื่องแม่นาคในนิยายก็จบลงเพียงเท่านี้ แต่มีคำเล่าลือบางกระแสว่าผู้ที่ปราบผีแม่นาค ไม่ใช่เณรจิ๋ว ทว่าเป็น...สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)วัดระฆัง เล่ากันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านรู้ข่าวการอาละวาดของผีแม่นาคซึ่งก่อความหวาดกลัวและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านแถววัดมหาบุศย์เป็นอย่างมาก แม้แต่หมอผีเก่งๆ ก็ยังพ่ายแพ้คอพับคอย่น (เพราะถูกบีบคอ) ไปหลายราย

สมเด็จฯ โตจึง มาค้างที่วัดมหาบุศย์ แต่ท่านไม่ได้ทำพิธีอะไรมากมายอย่างหมอผีทั้งหลาย เพียงพอ ตกค่ำ ท่านก็ไปนั่งที่บริเวณหลุมศพแล้วเรียนนางนาคขึ้นมาสนทนากัน แต่ท่านจะพูดจากตกลงกับนางนาคว่าอย่างไรไม่มีใครรู้ ลือกันว่า ท่านได้เจาะเอากระดูกหน้าผากจากศพของนางนาคขัดกระดูกแผ่นนั้นจนเกลี้ยงเป็นมันแล้วนำกลับไปยังวัดระฆัง ลงยันต์กำกับและเจาะทำเป็นหัวเข็มขัด เวลาท่านจะไปไหนก็เอาคาดเอวติดไปด้วย นับตั้งแต่นั้น ผีแม่นาคที่เคยอาละวาดที่วัดมหาบุศย์พระโขนงก็สงบไป เมือไปอยู่ที่กุฏิสมเด็จโต เวลานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ยังเป็นสามเณร อยู่ในกุฏินั้นด้วย ได้ถูกแม่นาครบกวน 

สามเณรก็ฟ้องสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า สมเด้จฯ ท่าก็ร้องปรามว่านางนาคเอ๊ยอย่ารบกวนคุณเณรซี แม่นาคก็เงียบไป แล้วนานๆ ก็ออกมาแหย่เล่นเสียครั้งหนึ่ง (แม่นาคคงจะเหงาน่ะ!) พอถูกปรามก็หยุดไป เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ครั้นสมเด็จฯ ท่าชรามากขึ้นก็มอบกระดูกหน้าผากนางนาคประทานหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ และให้สามเณร ม.ร.ว.เจริญ ไปอยู่ด้วย นางนาคยังคงเล่นสนุกเย้าแหย่สามเณรตามเคย หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ทรงกริ้วดุนางว่า... เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามากวนเณร คุณเณรจะได้ดูหนังสือหนังหานางนาคจึงเงียบไป... ต่อมา... หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งได้เป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัต) ได้ประทานกระดูกหน้าผากนางนาคให้แก่หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) วัดบางปะกอก

ภายหลังหลวงพ่อพริ้ง ก็มอบกระดูกนางนาคแด่กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กระดูกนางนาคจึงไปอยู่ในซองผีที่วังนางเลิ้ง (ในเวลานี้เป็นโรงเรียนพาณิชยการพระนคร) อยู่ที่วังนางเลิ้งไม่นานเท่าไรนางนาคก็มากราบทูลลา (คงจะหมดเวรหมดกรมไปเกิดใหม่ แต่จะเกิดเป็นคนหรือเปล่าก็ไม่ทราบ เพราะนางนาคอาจจะไปเกิดเป็นอมนุษย์ก็ได้และคำว่าอมนุษย์ก็ครอบคลุมกว้างมาก ตั้งแต่ ผี ปีศาจ ยักษ์ มาร นางไม้ เทวดา เป็นต้น หากให้สันนิษฐาน นางนาคน่าจเกิดในระดับที่สูงกว่าผีขึ้นไป) และกระดูกนางนาคชิ้นนั้นก็อันตรธานหายไปไม่พบเรื่องราวอีกเลย

*** เรื่องราวแม่นาคที่บางครั้งก็ดูจริงจังเกินกว่าเรื่องนิยายอย่างนี้ทำให้ เกิดความคิดขึ้นสองอย่าง.... บ้างก็ยังคงเชื่อว่า เป็นเรื่องนิยาย แต่มีมากกว่าบ้าง สุดแล้วแต่เพื่อนๆจะนึกคิดนะครับ


เรื่องของแม่นาคพระโขนงยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ ยังมีมุมมองอื่นๆอีกมากมายเกี่ยวกับนางนาคพระโขนง เช่น ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์คาถา ดลบันดาลตามคนขอ และการบันเทิงอีกด้วย



ศาลแม่นากตั้งอยู่ที่วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร


ปัจจุบันมี ศาลแม่นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร สำหรับศาล แม่นาค นี้ มีคนไปกราบไหว้กันเยอะ บ้างก็ขอหวย ขอลูก ขอความรัก แต่สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะไปขอพรก็คือไม่อยากติดทหาร ซึ่งญาติพี่น้องกลุ่มใดไม่อยากให้ลูกหลานต้องเป็นทหาร จะต้องมาขอพรจาก แม่นาค ก็จะสมหวังไม่ได้เป็นทหารสมใจเพราะเชื่อว่าท่านไม่ชอบการเป็นทหาร เพราะทหารทำให้ท่านกับสามีต้องพรากจากกัน ก่อนหน้านั้นก็ได้ยินเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของท่านย่านาค มานานแล้วครับว่าท่านทรงอานุภาพ ผู้ใดที่มีเรื่องเดือดร้อนใจ ก็มักไหว้ขอพร บนบานกับท่าน ท่านก็เมตตาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเรื่องความรัก โชคลาภ คนที่อยากมีลูก ก็ไปขอกับท่าน ก็สมหวัง ( อย่างเช่น คุณตั๊ก - ศิริพร )

การบูชา แม่นาค มีหลายรูปแบบ การกราบไหว้แม่นาค คือ ธูป 2 ดอก ดอกไม้หรือพวงมาลัย หรืออาจซื้อผ้าเจ็ดสีเจ็ดศอกมาพันรอบต้นไม้ บางคนก็ซื้อของไหว้เช่น ชุดไทย สำหรับแม่นาค หรือ ชุดเด็ก และของเล่นเด็กสำหรับลูก แม่นาค (ที่ตายทั้งกลม) หรือบางคนก็เอารูปวาดที่จินตนาการว่าเป็น แม่นาค มามอบให้ ซึ่งรูปแบบการบูชา แม่นาค นี้ ก็อาจจะแตกต่างกันออกไป







การแสดงและบทประพันธ์



เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้กลายเป็นบทประพันธ์ในรูปแบบการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นบทละครร้องในปี พ.ศ. 2454 ในชื่อ "อีนากพระโขนง" โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงที่โรงละครปรีดาลัย (โรงเรียนตะละภัฏศึกษาในปัจจุบัน) ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเปิดการแสดงติดต่อกันถึง 24 คืน[6]
ในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ และภาพยนตร์หลายครั้ง โดยเรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้นำมาสร้างภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2470 โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ แต่พอสร้างแล้วฉายจนฟิล์มเปื่อย ฟิล์มก็หล่นหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย[7] อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว เช่น ละครเวทีโอเปร่าอำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ในปี พ.ศ. 2545



แม่นากพระโขนงในสื่อต่าง ๆ

ภาพยนตร์


ฉากในภาพยนตร์เรื่อง นางนาก (พ.ศ. 2542)





ละครโทรทัศน์

[แก้]ละครวิทยุ

  • นางนาคพระโขนง - โดย หม่อมหลวงเปลื้อง อิศรางกูร
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเกศทิพย์ (จำนวน 20 ตอน)
  • วิญญาณรักของแม่นาค - โดย คณะแก้วฟ้า
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะกันตนา
  • นางนาก - โดย คณะ ๒๑๓ การละคร
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะรังสิมันต์
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเสนีย์ บุษปะเกศ
  • แม่นาค - โดย คณะมิตรมงคล
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะผาสุกวัฒนารมย์
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะนีลิกานนท์

[แก้]ละครเวที

[แก้]หนังสือ